วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2557

สินค้าประกอบกัน (complementary goods) สินค้าแทนกันได้ (substitution goods)


การแบ่งประเภทของสินค้าและบริการมีด้วยกันทั้งสิ้น 9 วิธี คือ
1.แบ่งตามปริมาณที่มีอยู่เมื่อเทียบกับความต้องการ
2.แบ่งตามความจับต้องได้หรือมีตัวตน
3.แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้
4.แบ่งตามขั้นตอนในการผลิต
5.แบ่งตามอรรถประโยชน์ส่วนเพิ่มที่ได้รับจากการบริโภค
6.แบ่งตามความเกี่ยวข้องในการบริโภค
7.แบ่งตามความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้บริโภค
8.แบ่งตามการเป็นปฏิปักษ์และความสามารถในการกีดกันในการบริโภค
9.แบ่งตามคุณและโทษที่ตกแก่สังคมโดยส่วนรวม

        ในบทความนี้เราขอพูดถึงการแบ่งประเภทของสินค้าและบริการโดยแบ่งตามความเกี่ยวข้องในการบริโภคนะคะ ซึ่งจะแบ่งย่อยได้อีก 3 ประเภท คือ สินค้าที่ใช้ประกอบกัน สินค้าที่ใช้ทดแทนกัน และ สินค้าที่อิสระต่อกัน



สินค้าประกอบกัน (complementary goods)

สินค้าประกอบกัน หมายถึงสินค้าที่ต้องใช้ร่วมกับสินค้าอื่น  เมื่อสินค้าหนึ่งเพิ่มขึ้นหรือลดลงจะมีผลทำให้ปริมาณการเสนอซื้อสินค้าอีกชนิดหนึ่ง  เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  เช่น  รถยนต์กับน้ำมันเชื้อเพลิง ถ้าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาเพิ่มขึ้น  ถึงแม้ราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้น  เราจำเป็นที่จะต้องใช้รถยนต์ตามปกติทุกวัน  เพราะสินค้าที่ใช้ควบคู่ประกอบกัน  จึงขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้เลย


ดู 20140110_201423.jpg แบบการแสดงภาพสไลด์

จากภาพเป็นแบตเตอรี่สำรองและสายUSB เมื่อแบตเตอรี่ในมือถือหมดย่อมต้องการแบตเตอรี่สำรองในการชาร์ตเพื่อใช้ในยามที่หาเต้าเสียบไม่ได้ หากมีแต่ตัวแบตเตอรี่ก็ไม่สามารถชาร์ตได้เนื่องจากไม่มีตัวเชื่อมต่อ และหากมีแต่สายUSB ก็ไม่สามารถชาร์ตได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีทั้งสองสิ่งประกอบกันจึงจะใช้งานเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นได้


สินค้าทดแทนกัน (Substitute good)

สินค้าทดแทนกัน หมายถึงสินค้าที่ใช้แทนกันด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันและความสามารถใช้แทนกันได้ เมื่อราคาสินค้าชนิดหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปราคาสินค้าอีกชนิดหนึ่งจะมีราคาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม เช่น โค้กกับเป๊บซี่ แฟ้บกับเปา พิซซ่าฮัทกับพิซซ่าคอมปะนี โออิชิกับอิชิตัน เป็นต้น

ดู 20140110_201520.jpg แบบการแสดงภาพสไลด์

จากภาพเป็นซอสปรุงรสตราแม็กกี้และตราภูเขาทอง จะเห็นได้ว่าเราไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งสองยี่ห้อ เนื่องจากสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติเดียวกัน สามารถใช้ทดแทนกันได้ เมื่อเทียบปริมาณและราคาแล้ว หากสิ่งไหนราคาถูกกว่า อุปสงค์หรือความต้องการซื้อของผู้บริโภคจะมีมากกว่า ดังนั้นซอสปรุงรสสองยี่ห้อนี้จึงเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้


*ส่วนสินค้าที่เป็นอิสระต่อกันเป็นสินค้าที่ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันเลย เช่น สบู่กับยาสระผม สบู่และยาสระผมให้ประโยชน์กันคนละด้าน จึงไม่จำเป็นต้องใช้ประกอบกัน และ ใช้ทดแทนกันไม่ได้


เสนอ คุณครูประพิศ ฝาคำ
จัดทำโดย น.ส.ปุญชรัสมิ์  ธีรวงศธร ม.5 ห้อง 942 เลขที่ 22








1 ความคิดเห็น: